วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

                    หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม 

ความหมายของหุ่นยนต์ สถาบันหุ่นยนต์อเมริกา (The Robotics Institute Of America) ได้ให้ความหมายของ หุ่นยนต์ว่า หุ่นยนต์คือ เครื่องจักรที่ถูกออกแบบให้สามารถท างานได้หลากหลายหน้าที่ เพื่อใช้ เคลื่อนย้ายวัสดุ ชิ้นงาน เครื่องมือ หรืออุปกรณ์พิเศษ ผ่านโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ต่างๆ ส าหรับงานต่างๆที่หลากหลาย อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหุ่นยนต์คือ เครื่องจักรกลทุกชนิดที่ออกแบบมาให้สามารถท างานแทนมนุษย์ได้ทุก ประเภทที่มนุษย์ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และเป็นการท างานอัตโนมัติ สามารถท างานในรูปแบบที่ ซับซ้อนและมีความยึดหยุ่น หุ่นยนต์หรือภาษาอังกฤษเขียนว่า Robot มาจากบทละครของนายคาเรล คาเปก (Karal Kapek) นักแต่งนิยายชาวเช็ก เรื่อง R.U.R (Rossum’s Universal Robots) ซึ่งหมายถึงคนงาน หุ่นยนต์คือเครื่องจักรที่ถูกควบคุมอัตโนมัติ สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานเอนกประสงค์ โปรแกรมการเคลื่อนที่จะต้องสามารถโปรแกรมให้เคลื่อนที่ได้อย่างน้อย 3 แกนหรือมากกว่าหุ่นยนต์ อาจจะยึดอยู่กับที่หรือย้ายต าแหน่ง (Mobile) เพื่อใช้งานอุตสาหกรรม

ตัวอย่าง

หุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่าง

IRPC ร่วมกับสถาบันสิรินธรฯ และ ม.ศรีปทุม พัฒนาต้นแบบ “ชุดหุ่นยนต์ช่วยเดิน” เพื่อสร้างโอกาสให้คนพิการอัมพาตครึ่งล่างได้ใช้ประโยชน์และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในอนาคต ด้วยการพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิด UHMWPE ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา ทดแทนอลูมิเนียมและเหล็กบางชิ้นส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ “โครงการพัฒนาชุดหุ่นยนต์ช่วยเดิน สำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่าง” เพื่อต่อยอดสู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรม สร้างโอกาสให้ผู้พิการได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง
“ปัจจุบันความพิการทางการเคลื่อนไหวถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยเดินจะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่จะมาช่วยบรรเทาปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากต้นแบบหุ่นยนต์ช่วยเดินในปัจจุบัน ชุดขับเคลื่อนมีขนาดใหญ่ โครงสร้างทำจากอลูมิเนียม ทำให้มีน้ำหนักมากถึง 25 กิโลกรัม ประกอบกับแบตเตอรี่ใช้งานสั้น ไม่เกิน 3 ชั่วโมง ล้วนเป็นอุปสรรคให้ผู้พิการไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หากการวิจัยและพัฒนาสำเร็จ และต่อยอดไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม ก็จะช่วยให้กลุ่มผู้พิการได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงนวัตกรรมหุ่นยนต์นี้มากขึ้น”
ทั้งนี้ IRPC ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกชนิด UHMWPE (Ultra high molecular weight Polyethylene) ด้วยคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ ทนทานต่อการสึกกร่อนเสียดสี รองรับแรงกระแทกได้ดี และน้ำหนักเบา จึงสามารถนำไปผลิตทดแทนชิ้นส่วนเดิมของหุ่นยนต์ช่วยเดินได้
บริษัทฯ มีแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้
“ความร่วมมือในครั้งนี้ นับว่าเป็นความท้าทายของการ ได้เรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันในทางด้านสาธารณสุข สถาบันการศึกษาและสังคม เพื่อให้คนพิการ ได้รับโอกาสที่เท่าเทียม ในการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ควบคู่ไปกับนวัตกรรมทางการศึกษา และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมสอดรับกับการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ยุคแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น” นายสุกฤตย์ กล่าว
ด้าน นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ในฐานะศูนย์วิชาการและศูนย์บริการเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะช่วยในเรื่องการประเมินการทดสอบ “หุ่นยนต์ช่วยเดิน” ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ทุพพลภาพให้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยพิจารณาตามหลักการทางชีวกลศาสตร์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยเดิน นอกจากมุ่งเน้นการส่งเสริมศักยภาพของคนพิการช่วงล่างให้สามารถเคลื่อนไหวและพึ่งพาตนเองได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้สำหรับช่วยเพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดิน เป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน และสามารถนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งถือเป็น “นวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงของคนทั้งมวลอีกด้วย”
นางรัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ต้นแบบของนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งล่างนี้ เกิดจากการคิดค้นของทีมอาจารย์และนักศึกษา กลุ่มระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถใช้งานได้จริง ตรงตามมาตรฐานทางการแพทย์ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ ในการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติเพื่อกระบวนการผลิต ปี 2557 (หรือ RACMP 2014) และรางวัลชนะเลิศ นักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ในวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ปี 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตลอดจนรางวัลในระดับนานาชาติ Honorable Mention Award และ Leading Innovation Award จาก Taipei International Invention Show & Techmart 2015 ณ ประเทศไต้หวัน
“นวัตกรรมนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของทีมในการช่วยคนพิการอัมพาตครึ่งล่างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระการพึ่งพา ช่วยให้คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยอาศัยกลไกการทำงานของหุ่นยนต์อัตโนมัติ ที่ไม่ซับซ้อนมาก ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจที่ต้นแบบของนวัตกรรม จะถูกนำไปต่อยอดวิจัยและพัฒนาให้ดีขึ้น สร้างประโยชน์ต่อสังคม และผู้พิการได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมมากขึ้นในอนาคตเป็นไปตามเป้าหมายของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการผลิตบุคลากรที่มีบทบาทความสามารถ และผลงานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม”


การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery)


- ตัวหุ่นยนต์อยู่ข้างคนไข้ ทำการผ่าตัดเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ที่ควบคุมสั่งการอยู่ที่ console หุ่นยนต์นี้ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน แขนที่1 ใช้ในการถือกล้องเพื่อส่งภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยออกมายังจอภาพของเครื่องสั่งการ (console)ให้ศัลยแพทย์เห็นเป็นภาพขยาย 3 มิติที่มีความลึกและคมชัด สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน แขนที่เหลืออีก 3 แขนก็ใช้ในการถือเครื่องมือหุ่นยนต์ที่มีข้อมือกล (wristed instruments) ที่สามารถหมุนและโค้งงอเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง จึงให้การเคลื่อนไหวของเครื่องมือหุ่นยนต์ทำได้เหมือนมือมนุษย์ แต่จะละเอียดและราบรื่นกว่าด้วยการช่วยเหลือปรับปรุงสัญญานโดยคอมพิวเตอร์

- ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) เป็นตำแหน่งที่ศัลยแพทย์นั่งควบคุมการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนั่งประจำที่ console ทำการผ่าตัดโดยใช้ทั้งสองมือควบคุมเคลื่อนไหวก้านกลเหมือนผ่าตัดปกติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังแขนกลของหุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดภายในร่างกายของผู้ป่วยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์

- คอมพิวเตอร์คอนโทรลทาวเวอร์ (Computer Control Tower) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุม วิเคราะห์ และกรองข้อมูลสัญญานไปมาระหว่างหุ่นยนต์กับศัลยแพทย์




SCARA Robot


Selective Compliance Assembly Robot Arm (SCARA Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่มีแกนที่ 1 และแกนที่ 3 หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเคลื่อนที่ขึ้นลง (Prismatic) ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงและแนวระนาบที่ไม่ต้องการการหมุนมากได้รวดเร็ว แม่นย าสูง มักใช้ในงาน ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์งานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แต่ไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนเชิงกล (Mechanical Part) ที่ต้องหมุน (Rotation) ในลักษณะมุมหลายมิต






วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

เครื่องจักร NC

เครื่องจักร nc

 เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
 3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น





เครื่องจักร CNC
CNC=Computer Numerical Control เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตามเครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้

ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ ุุ60,000 บาทต่อเครื่อง




เครื่อง DNC Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่อง
ต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน
SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
       1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
       2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
       3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
       4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
       5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
       6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้